Saturday, March 26, 2011

อำเภอสุคิริน จ.นราธิวาส


สุคิริน เป็นอำเภอเล็กๆ 1 ใน 13 อำเภอของจังหวัดนราธิวาส มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติและระบบนิเวศน์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าฮาลา - บาลา  เป็นพื้นที่อนุรักษ์แห่งใหม่ของประเทศไทย โดยประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2539  ตั้งอยู่บริเวณทิวเขาสันกาลาคีรีอันเป็นแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 270,725 ไร่ ประกอบ ผืนป่าดงดิบที่สมบูรณ์ 2 ส่วน   คือป่าฮาลาในเขตอำเภอเบตงจังหวัดยะลา อำเภอจะแนะจังหวัดนราธิวาส และป่าบาลาในเขตอำเภอแว้ง  อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ด้วยสภาพพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขตฯเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยป่าดงดิบหรือป่าฝนที่อุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง กอปรกับมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ของประเทศมาเลเซีย  จึงทำให้ป่าฮาลา - บาลาเป็นแหล่งอาศัยของพืชพรรณ และสัตว์ป่าหายากจำนวนมาก หลายชนิดมักพบเห็นได้เฉพาะบริเวณป่าแถบนี้เท่านั้น   โดยเฉพาะนกเงือกต่าง ๆ ที่พบได้จากป่าแห่งนี้ประมาณ 9 ชนิด จาก 12 ชนิดที่พบในประเทศไทย เช่นนกเงือกหัวแรด นกชนหิน เป็นต้นนักท่องเที่ยวสามารถดูนก ชมสัตว์ ณ จุดชมสัตว์ ชมต้นกระพงยักษ์เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ วัดบริเวณโคนต้นราว 18 คนโอบ ดงมหาสะดัม ซึ่งเป็นต้นเฟิร์นใหญ่ชนิหนึ่ง และพักผ่อนที่น้ำตกสิรินธร ตลอดจนโครงการพระราชดำริพืชสมุนไพร ซึ่งในเขตอำเภอสุคิริน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านภูเขาทอง ฤดูกาลที่เหมาะแก่การมาท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าฮาลา - บาลา คือตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนกันยายนซึ่งจะมีฝนตกไม่มากเกินไปนัก
การเดินทาง โดยทางรถยนต์ เดินทางไปยังอำเภอแว้งจนถึงบ้านบูเก๊ะตา ก่อนถึงเขตแดนจะเห็นป้าย
บอกทางไปเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าฮาลา - บาลาและน้ำตกสิรินธร เลี้ยวขวาไปตามทางโดยรถไฟ มาสุดสถานีปลายทางสุไหงโก - ลก สามารถจ้างเหมารถรับจ้างมาส่งที่เขตฯ ทุกครั้งที่เข้าพื้นที่เพื่อศึกษาธรรมชาติ ต้องทำหนังสือติดต่อแจ้งความประสงค์มาล่วงหน้าที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าฮาลา - บาลา ตู้ ป.ณ. 3 อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 96160

เหมืองแร่ทองคำ                                                                                                    
ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านโต๊ะโมะ ตำบลภูเขาทองเป็นเหมืองทองคำซึ่งสร้างก่อนปี พ.ศ.2474   โดยมีชาว
ฝรั่งเศสได้รับสัมปทานการทำเหมืองแร่ทองคำ ที่ภูเขาโต๊ะโมะ เดิมเรียกว่าภูเขาลีซอต่อมารัฐบาลไทยเข้าไปดำเนินการหลังจากเกิดสงครามอินโดจีน  และปัจจุบันได้เลิกดำเนินกิจการแต่ยังคงเหลือสิ่งก่อสร้าง  เช่นบ้านพักที่ทำการเดิม อุโมงค์ 4 อุโมงค์หลัก   และอุโมงค์ย่อยอีก เป็นจำนวนมาก
บริเวณโดยรอบประกอบด้วยป่าไม้นานาชนิดมีลำธารน้อยจำนวนมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทัศนียภาพ
ในยามเช้า จะปรากฏทะเลหมอกเป็นลานกว้างสวยงามนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักค้าง  สามารถพักได้ที่บ้านพักซึ่งดัดแปลงเป็นที่รองรับนักท่องเที่ยวที่มาพักค้างคืนได้ประมาณคืนละ 25 - 30 คน หากนักท่องเที่ยวต้องการชมการร่อนทองแบบพื้นเมือง จะมีการสาธิตการร่อนทองและสามารถเห็นแร่ทองคำจริง ๆ

วัดโต๊ะโมะ                                                                                                          
ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านโต๊ะโมะ ตำบลภูเขาทองเป็นวัดหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ
พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา  และเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวตำบลภูเขาทอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้ทรงงานเมื่อยามที่เสด็จมาประทับเพื่อเยี่ยมเยือนช่วยเหลือราษฎรโดยภายในบริเวณวัดยังประกอบด้วยศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งเป็นศูนย์ส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มแม่บ้าน เช่นการทอผ้าไหม การแกะสลัก การจักสาน โดยเฉพาะการจักสานย่านลิเพา

ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ                                                                                                
ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับวัดโต๊ะโมะ เป็นสถานที่เคารพสักการะของประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีนและนักท่องเที่ยวเชื้อสายจีนของประเทศใกล้เคียงอาทิ ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์  เดิมเป็นที่ประดิษฐานของเจ้าแม่โต๊ะโมะ ปัจจุบันได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่ศาลเจ้าในอำเภอสุไหงโก - ลก


น้ำตกโต๊ะโม๊ะ                                                                                                      
ตั้งอยู่หมู่ที่ 3บ้านโต๊ะโม๊ะ ตำบลภูเขาทอง หรือบริเวณด้านหลังวัดโต๊ะโม๊ะประมาณ 3 กิโลเมตร       เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก ประกอบด้วยธารน้ำตก 4 ชั้นมีความสูงของแต่ละชั้น ๆ ละ 10 เมตร   บริเวณทางขึ้นมีลำธารน้อยใหญ่เรียงรายตลอดแนว และเต็มไปด้วยเกาะแก่งขนาดต่าง ๆ มากมาย จึงเหมาะที่เป็นสถานที่พักผ่อน   
หมู่บ้านจุฬาภรณ์ 12                                                                                            
ตั้งอยู่หมู่ที่ 13 บ้านจุฬาภรณ์ 12 ตำบลสุคิรินเป็นหมู่บ้านที่มีประวัติศาสตร์มาจากการต่อสู้  ของกลุ่ม
ขบวนการผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ทรงมีพระราชดำริในการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านจุฬาภรณ์ 12  ภายในหมู่บ้านมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือพิพิธภัณฑ์สงคราม แสดงให้เห็นถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทางผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเคยใช้  ซึ่งเดิมเป็นกองกำลังใช้ต่อสู้กับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน เช่นอาวุธปืนเข็มทิศเครื่องเวชภัณฑ์  เครื่องสนาม เครื่องปั่นไฟ เป็นต้น ตลอดจนบริเวณใกล้เคียงหมู่บ้านไม่ห่างไกลมากนักมีอุโมงค์ประวัติศาสตร์อนุสรณ์ สถานที่กองกำลังเดิมใช้เป็นที่หลบภัยและอาศัยต่อสู้ลวงข้าศึกซึ่งขุดไว้ใต้ดิน  เป็นทางยาวราว 300 เมตร อันเป็นสถานที่น่าชมยิ่ง

บ้านซาไก                                                                                                       
เป็นสถานที่พักชั่วคราวบริเวณรอยต่อเขตประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียของชนเผ่าคนดั้งเดิม  อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ โดยพักอาศัยอยู่เป็นช่วงๆ แรมเดือน รวมเป็นกลุ่ม ๆ ละ 7 - 10 คน ครอบครัวเรียกตนเองว่าชนเผ่าอัสรี อาศัยหาอาหารของป่า ใช้สิ่งของจากธรรมชาติมาก่อสร้างเป็นเพิงพัก ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ระหว่างบ้านโต๊ะโมะและบ้านภูเขาทอง หมู่ที่ 2 ตำบลภูเขาทองสภาพความเป็นอยู่ของชนเผ่าอัสรี  เมื่ออาหารในป่าหมดหรือไม่สามารถหาอาหารจากชาวบ้านในหมู่บ้านได้ประกอบกับเป็นชนเผ่าที่เบื่อหน่ายที่อยู่อาศัยง่ายซึ่งจำเจทั้งชอบที่จะอาศัยทำกินเร่ร่อน ก็จะออกเดินทางไปมาระหว่างประเทศมาเลเซียกับประเทศไทย

เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ                                                                                             
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านไอกาเปาะ ตำบลภูเขาทอง  เดิมเป็นสถานที่ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในการผลิตทองคำ    ต่อมาได้มีการดัดแปลงมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ  เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ราษฎรในหมู่บ้านพื้นที่หมู่ 3 และหมู่ 4 ตามโครงการพระราชดำริ อันประกอบด้วยโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก  และมีลำธารโดยรอบที่สวยงาม  บริเวณเหนือโรงไฟฟ้าขึ้นไปมีเขื่อนขนาดเล็กและอ่างเก็บน้ำที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปชมได้อย่างสะดวก

No comments:

Post a Comment